ความหมายของระบบเครือข่าย

        ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) ประกอบไปด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป ที่สามารถติดต่อกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ การติดต่อจะผ่านทางช่องการสื่อสารต่าง ๆ เช่น สายโทรศัพท์ สายไฟฟ้า หรือผ่านทางสื่อแบบอื่น ๆ ได้แก่ โมเด็ม (Modem) ไมโครเวฟ (Microwave) สัญญาณอินฟราเรด (Infrared) เป็นต้น วัตถุประสงค์ที่ต้องต่อกันนี้ มักเกิดจากความต้องการที่จะใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกัน เช่น ใช้เนื้อที่เก็บข้อมูลในดิสก์ร่วมกัน ใช้งานเครื่องพิมพ์เลเซอร์ที่มีอยู่เครื่องเดียวร่วมกัน ต้องการส่งข้อมูลให้กับบุคคลอื่นในระบบไปใช้งาน หรือต้องการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน เป็นต้น

ข้อดีของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

        การเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายนั้นมีข้อดีดังนี้
  1. สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ
  2. สามารถแชร์ทรัพยากร เช่น เครื่องพิมพ์ ฮาร์ดดิสก์ ซีดีไรท์เตอร์ ไว้ในเครือข่าย เป็นต้น
  3. ประหยัดเนื่องจากสามารถแชร์ทรัพยากรร่วมกันได้
  4. สามารถแชร์เอกสาร เช่น บันทึกข้อความ ตารางข้อมูลต่าง ๆ ใบส่งขอ บัญชีต่าง ๆ เป็นต้น
  5. สามารถใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมล์ ในการติดต่อผู้ที่อยู่ห่างไกลได้อย่างรวดเร็ว
  6. การสนทนาผ่านเครือข่าย หรือการแชท (Chat)
  7. การประชุมระยะไกล (Video conference)
  8. การแชร์ไฟล์ต่าง ๆ เช่น รูปภาพ วีดิโอ เพลง เป็นต้น
  9. การแชร์ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ เช่น ไมโครซอฟต์ออฟฟิศ โปรแกรมฐานข้อมูล เป็นต้น


ประโยขน์ของระบบเครือข่าย

  1. การแลกเปลี่ยนข้อมูลทำได้ง่าย โดยผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถที่จะดึง ข้อมูลจากส่วนกลาง หรือข้อมูลจากผู้ใช้คนอื่นมาใช้ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย เหมือนกับการดึงข้อมูลมาใช้จากเครื่องของตนเอง และนอกจากดึงไฟล์ข้อมูลมาใช้แล้ว ยังสามารถคัดลอกไฟล์ไปให้ผู้อื่นได้อีกด้วย
  2. ใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายนั้น ถือว่าเป็นทรัพยากรส่วนกลางที่ผู้ใช้ในเครือข่ายทุกคน สามารถใช้ได้โดยการสั่งงานจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของ ตัวเองผ่านเครือข่ายไปยังอุปกรณ์นั้น เช่น มีเครื่องพิมพ์ส่วนกลางในเครือข่าย เป็นต้น ซึ่งทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้ด้วย
  3. ใช้โปรแกรมร่วมกันผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถที่จะรันโปรแกรมจาก เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนกลาง เช่น โปรแกรม Word, Excel, Power Point ได้ โดยไม่จำเป็นจะต้องจัดซื้อโปรแกรม สำหรับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง เป็นการประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อ และยังประหยัดเนื้อที่ในหน่วยความจำด้วย
  4. ทำงานประสานกันเป็นอย่างดี ก่อนที่เครือข่ายจะเป็นที่นิยม องค์กรส่วนใหญ่จะใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น เมนเฟรม หรือมินิคอมพิวเตอร์ ในการจัดการงาน และข้อมูลทุกอย่างในองค์กร แต่ปัจจุบันองค์กรสามารถกระจายงานต่าง ๆ ให้กับหลาย ๆ เครื่อง แล้วทำงานประสานกัน เช่น การใช้เครือข่ายในการจัดการระบบงานขาย โดยให้เครื่องหนึ่งทำหน้าที่จัดการการเกี่ยวกับใบสั่งซื้อ อีกเครื่องหนึ่งจัดการกับระบบสินค้าคงคลัง เป็นต้น
  5. ติดต่อสื่อสารสะดวก รวดเร็ว เครือข่ายนับว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ได้เป็นอย่างดี ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล กับเพื่อนร่วมงานที่อยู่คนละที่ ได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว
  6. เรียกข้อมูลจากบ้านได้ เครือข่ายในปัจจุบันมักจะมีการติดตั้ง คอมพิวเตอร์ เครื่องหนึ่งเป็นเซิร์ฟเวอร์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้เครือข่ายจากระยะไกล เช่น จากที่บ้าน โดยใช้ติดตั้งโมเด็มเพื่อใช้หมุนโทรศัพท์เชื่อมต่อ เข้ากับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นก็จะเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่าย

องค์ประกอบของระบบเครือข่าย

       ระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ เพื่อการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (File Server) ช่องทางการสื่อสาร (Communication Chanel) สถานีงาน (Workstation or Terminal) และ อุปกรณ์ในเครือข่าย (Network Operation System) 
 
        1. คอมพิวเตอร์แม่ข่าย 
        คอมพิวเตอร์ แม่ข่าย หมายถึงคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการทรัพยากร (Resources) ต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ หน่วยความจำสำรอง ฐานข้อมูล และ โปรแกรมต่าง ๆ เป็นต้น ในระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) มักเรียกว่าคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ในระบบเครือข่ายระยะไกล ที่ใช้เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ หรือ มินิคอมพิวเตอร์เป็นศูนย์กลางของเครือข่าย เรานิยมเรียกว่า 
Host Computer และเรียกเครื่องที่รอรับบริการว่าลูกข่ายหรือสถานีงาน 

        2. ช่องทางการสื่อสาร 
        ช่อง ทางการสื่อสาร หมายถึง สื่อกลางหรือเส้นทางที่ใช้เป็นทางผ่าน ในการรับส่งข้อมูล ระหว่างผู้รับ (Receiver) และผู้ส่งข้อมูล (Transmitter) ปัจจุบันมีช่องทางการสื่อสาร สำหรับการเชื่อมต่อเครือข่าย คอมพิวเตอร์มีหลายประเภทคือ สายโทรศัพท์แบบสายคู่ตีเกลียวไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP) สายคู่ตีเกลียว แบบมีฉนวนหุ้ม (STP) สายโคแอคเชียล สายใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวป และดาวเทียม เป็นต้น

        3. สถานีงาน 
        สถานี งาน (Workstation or Terminal) หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อ กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เป็นสถานีปลายทางหรือสถานีงาน ที่ได้รับการบริการจากเครื่อง คอมพิวเตอร์แม่ข่าย เรียกว่าเป็นคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Workstation) ในระบบเครือข่ายระยะใกล้ มักมีหน่วยประมวลผล หรือซีพียูของตนเอง ในระบบที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม เป็นศูนย์กลาง เรียกสถานีปลายทางว่าเทอร์มินอล (Terminal) ประกอบด้วยจอภาพและแป้นพิมพ์เท่านั้น ไม่มีหน่วยประมวลกลางของตัวเอง ต้องใช้หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางหรือ Host 
 
        4. อุปกรณ์ในเครือข่าย 
         - การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย (Network Interface Card :NIC) หมายถึง แผงวงจรสำหรับ ใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณของเครือข่าย ติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องแม่ข่าย และเครื่องที่เป็นลูกข่าย หน้าที่ของการ์ดนี้คือแปลงสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ส่งผ่านไปตามสายสัญญาณ ทำให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้
        - โมเด็ม ( Modem : Modulator Demodulator) หมายถึง อุปกรณ์สำหรับการแปลงสัญญาณดิจิตอล (Digital) จากคอมพิวเตอร์ด้านผู้ส่ง เพื่อส่งไปตามสายสัญญาณข้อมูลแบบอนาลอก(Analog) เมื่อถึงคอมพิวเตอร์ด้านผู้รับ โมเด็มก็จะทำหน้าที่แปลงสัญญาณอนาลอก ให้เป็นดิจิตอลนำเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อทำการประมวลผล โดยปกติจะใช้โมเด็มกับระบบเครือข่ายระยะไกล โดยการใชสายโทรศัพท์เป็นสื่อกลาง เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
         - ฮับ ( Hub) คือ อุปกรณ์เชื่อมต่อที่ใช้เป็นจุดรวม และ แยกสายสัญญาณ เพื่อให้เกิดความสะดวก ในการเชื่อมต่อของเครือข่ายแบบดาว (Star) โดยปกติใช้เป็นจุดรวมการเชื่อมต่อสายสัญญาณระหว่าง File Server กับ Workstation ต่าง ๆ

        5. ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย 
          ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ จัดการระบบเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่ออยู่กับเครือข่าย สามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ ทำหน้าที่จัดการด้านการรักษาความปลอดภัย ของระบบเครือข่าย และยังมีหน้าที่ควบคุม การนำโปรแกรมประยุกต์ ด้านการติดต่อสื่อสาร มาทำงานในระบบเครือข่ายอีกด้วย นับว่าซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย มีความสำคัญต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างยิ่ง ตัวอย่าง ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ได้แก่ ระบบปฏิบัติการ Windows NT , Linux , Novell Netware , Windows XP ,Windows 2000 , Solaris , Unix เป็นต้น

มาตรฐานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

       มาตรฐานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ถูกกำหนดโดยคณะกรรมการจาก IEEE หรือเรียกเป็นทางการว่า IEEE 802 Local and Metropolitan Area Network Standard Committee โดยจะเน้นการคุณสมบัติในระดับของอุปกรณ์การสื่อสารข้อมูล และการสื่อสารข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มาตรฐานจำนวนมากถูกกำหนดออกมาจากกลุ่มกรรมการกลุ่มนี้ และได้นำมาใช้กำหนดรูปแบบโครงสร้างระบบเครือข่ายปัจจุบัน โดยมาตรฐานที่สำคัญมีดังต่อไปนี้
 - IEEE 802.1 (Higher Layer LAN Protocols) เป็นมาตรฐานด้านโปรโตคอลบนเครือข่านท้องถิ่น (LAN)
 - IEEE 802.2 (Logical Link Control) เป็นมาตรฐานด้านฟังก์ชันและโปรโตคอล LLC บนเครือข่ายท้องถิ่น 
 - IEEE 802.3 เป็นมาตรฐานกำหนดการสื่อสารข้อมูลในระดับฮาร์ดแวร์แบบ Carrier Sense Multiple Access with Collision Detect เรียกย่อๆ ว่า CSMA/CD คือการสื่อสารข้อมูลในระบบ อีเธอร์เน็ต (Ethernet) นั้นเอง ซึ่งในมาตรฐานดังกล่าวยังแบ่งเป็นมาตรฐานย่อยๆ อีก เช่น IEEE 802.3a หรือ มาตรฐาน 10 BASE 2
 - IEEE 802.3i หรือ มาตรฐาน 10 BASE T
 - IEEE 802.3u หรือ มาตรฐาน 100 BASE T
 - IEEE 802.3z หรือ มาตรฐาน 1000 BASE X
 - IEEE 802.3ab หรือ มาตรฐาน 10 BASE T
 - IEEE 802.4 เป็นมาตรฐานเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลในแบบ Token Bus
 - IEEE 802.5 เป็นมาตรฐานเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมุลในแบบ Token Ring
 - IEEE 802.6 เป็นมาตรฐานกำหนดเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลในเครือข่ายแบบ MAN
 - IEEE 802.7 เป็นมาตรฐานกำหนด Boardband ในการสื่อสารข้อมูล
 - IEEE 802.8 เป็นมาตรฐานเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลโดยใช้ Fiber Optic
 - IEEE 802.9 เป็นมาตรฐานเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลด้วยเสียงและข้อมูลบนสื่อส่งข้อมูลเดียวกัน เช่น การสื่อสารข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยี ADSL
 - IEEE 802.10 เป็นการกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับความปลาอดภัยในระบบเครือข่าย
 - IEEE 802.11 มาตรฐานเกี่ยวกับ ระบบเครือข่ายไร้สาร (Wireless LAN)
 - IEEE 802.12 เป็นมาตรฐานเกี่ยวกับระบบเครือข่ายความเร็วสูง
 - IEEE 802.14 เป็นการใช้มาตรฐานที่ใช้แทนมาตรฐาน                                                             
   - IEEE 802.13 ที่ถูกยกเลิกโดยเป็นเรื่องเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลผ่ายสายเคเบิลทีวี

ระบบเครือข่ายแบบไร้สาย

       ระบบเครือข่ายไร้สาย ( Wireless Network) หมายถึง เทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง หรือกลุ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมถึงการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์เครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งการสื่อสารจะไม่ใช้สายสัญญาณในการเชื่อมต่อ (LAN) แต่จะใช้คลื่นวิทยุ หรือ คลื่น อินฟาเรด ในการรับส่งข้อมูลแทน ซึ่งในขณะนี้กำลังเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก จะเห็นได้จากแทบจะทุกจุดในเมืองที่สำคัญๆจะมีสัญญาณของ Wireless อยู่แทบทุกที่เลยที่เดียวด้วยความสะดวกสบายในการใช้งานไม่ต้องมองหา plug เสียบสาย LAN กันให้ยุ่งยาก เคลื่อนย้ายง่าย แถมด้วยสัญญาณ ที่กระจายอยู่ทั่วไป ทำให้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ขอแค่สัญญาณไปถึงก็สามารถรับ-ส่งข้อมูลกันได้ ไม่ต้องเจาะกำแพง เดินสายกันให้ยุ่งยากอีกต่อไป

เครือข่ายแลนไร้สายแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

1.WPAN(Wireless Personal Area Network)
เป็นระบบเครือข่ายไร้สายส่วนบุคคล ปัจจุบันมีอยู่สองระบบที่รองรับการทำงานส่วนบุคคล คือ IR(Infra-Red) และ Bluetooth การทำงานจะครอบคลุมบริเวณการสื่อสารที่ค่อนข้างจำกัด เช่นอินฟาเรด ระยะปะมาณไม่เกิน 3 เมตร และบลูทูธ ระยะไม่เกิน 10 เมตร



2.WLAN(Wireless Local Area Network)
เป็นระบบเครือข่ายท้องถิ่นที่ใช้งานในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งในระยะใกล้ ภายในหน่วยงานหรืออาคารเดียวกัน เช่น สำนักงาน บริษัท หรือสถานที่จัดนิทรรศการ



3.WMAN(Wireless Metropolitan Area Network) เป็นระบบเครือข่ายสำหรับเมืองใหญ่ๆ มีระบบเครือข่ายที่หลากหลายมักใช้เชื่อมต่อสื่อสารกันระหว่างอาคารต่างๆภายในเมือง
                                à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ WMAN(Wireless Metropolitan Area Network)

4.WWAN(Wireless Wide Area Network) 
เป็นระบบเครือขายไร้สายขนาดใหญ่สำหรับเมืองหรือประเทศซึ่งมักมีการใช้งานผ่านดาวเทียม
ข้ามประเทศ

ระยะทาง (เมตร)ประเภทเครือข่าย
0-10Wireless Personal Area Network
0-100Wireless Local Area Network
0-1000Wireless Wide Area Network

ข้อดีและข้อเสียของระบบเครือข่ายไร้สาย
ข้อดี
1. ช่วยลดปัญหาในการติดตั้งระบบเครือข่าย
2. ช่วยลดปัญหาในการวางสายระบบเครือข่าย
3. ไม่ต้องใช้สาย cable
4. ช่วยให้เกิดความเป็นระเบียบ เรียบร้อย
ข้อเสีย
1. มีอัตราการลดทอนสัญญาณสูง นั่นหมายความว่า “ ส่งสัญญาณได้ระยะสั้น ”
2. มีสัญญาณรบกวนสูง
3. ต้องแชร์กันใช้ช่องสัญญาณคลื่นความถี่เดียวกัน
4. ยังมี หลายมาตรฐาน ตามผู้ผลิต แต่ละราย ทำให้ มีปัญหา ในการ ใช้งาน ร่วมกัน
5. ราคาแพงกว่าระบบเครือข่ายแบบมีสาย
6. มีความเร็วไม่สูงมากนัก

การทำงานของคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย

        การทำงานของคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายเครื่องที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่ายเรียกว่า Server เป็นเครื่องที่ใช้บริการแก่เครื่องอื่นเครื่องลูกข่ายหรือเรียกว่าไคลแอนหรือบางครั้งเรียกว่าเวิร์กสเตชั่นโดยทั่วไปการจัดแบ่งหน้าที่การทำงานของคอมพิวเตอร์ระบบเครือข่ายจะมี 2 แบบใหญ่คือแบบที่ทุกเครื่องมีศักดิ์ศรีเท่ากันเรียกว่า Peer-to-Peer แต่ละเครื่องจะยอมให้เครื่องอื่นในระบบเข้ามาใช้ข้อมูลหรืออุปกรณ์ต่างๆได้โดยเสมอภาคกันแบบที่เรียกว่า Server-Based หรือ Dedicated server

                                          

       การทำงานของระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ สามารถทำได้โดยการนำระบบ LAN หลาย ๆ วงมาเชื่อมต่อกัน โดยใช้อุปกรณ์ประกอบเพิ่มเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ เช่น
1. Repeater
       เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ทำหน้าที่ในการย้ำสัญญาณ เนื่องจากสัญญาณที่ส่งผ่านตัวกลางจะอ่อนกำลังลงตามระยะทางที่เพิ่มขึ้น การอ่อนกำลังของสัญญาณทำให้ไม่สามารถส่งข้อมูลไปตามเส้นทางเป็นระยะทางไกลๆ ได้ จึงต้องมีอุปกรณ์เพื่อช่วยทำให้สัญญาณที่อ่อนกำลังกลับมามีความชัดเจนเหมือนข้อมูลจากต้นทาง ดังนั้น อุปกรณ์ทวนสัญญาณจะทำให้ช่วยเพิ่มระยะทางในการส่งข้อมูลของเครือข่ายได้ ในปัจจุบันนิยมใช้ฮับเป็นตัวทวนสัญญาณเนื่องจากสามารถรองรับจำนวนเครื่องที่เชื่อมต่อได้มากกว่าในราคาที่ต่ำและยังช่วยขยายระยะของเครือข่ายได้อีกด้วย ซึ่งฮับอาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าตัวทวนสัญญาณหลายพอร์ต (Multiport repeater) ก็ได้
2.Bridge
       เป็นอุปกรณ์ที่มักจะใช้ในการเชื่อมต่อวงแลน (LAN Segments)เข้าด้วยกันทำให้สามารถขยายขอบเขตของ LANออกไปได้เรื่อยๆโดยที่ประสิทธิภาพรวมของระบบไม่ลดลงมากนักเนื่องจากการติดต่อของเครื่องที่อยู่ในเซกเมนต์เดียวกันจะไม่ถูกส่งผ่านไปรบกวนการจราจรของเซกเมนต์อื่น และเนื่องจากบริดจ์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับ Data Link Layerจึงทำให้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายที่แตกต่างกันในระดับ Physical และ Data Link ได้ เช่น ระหว่าง Eternet กับ Token Ring เป็นต้น
3.Switch
       เป็นอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมกลุ่มเครือข่ายหรืออุปกรณ์เครือข่ายเข้าด้วยกัน โดยทั่วไปคำๆนี้หมายถึง network bridge หรือสะพานเครือข่ายหลายพอร์ตที่ประมวลและจัดเส้นทางข้อมูลที่ชั้นเชื่อมโยงข้อมูล (data link layer - เลเยอร์ 2) ของแบบจำลองโอเอสไอ. สวิตช์ที่ประมวลข้อมูลที่เลเยอร์ 3 และสูงกว่ามักจะเรียกว่าสวิตช์เลเยอร์ 3 หรือมัลติเลเยอร์สวิตช์
4.Router
       อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายอย่างหนึ่ง ซึ่งถ้าแปลความหมายคำว่า Route ก็คือ ถนน นั่นเอง ดังนั้น การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วย Router ทำให้เราสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ได้มากกว่าหนึ่งเครื่องในเวลาเดียวกัน ซึ่ง Router นั้นจะมีซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการควบคุมการทำงานเรียกว่า Internetwork Operating System (IOS) และตัว Router จะมีช่องที่ใช้เสียบต่อสายสัญญาณเรียกว่า Port LAN ซึ่งโดยทั่วไปมักมี 4 Ports หรือมากกว่า ใน Router 1 ตัว